คดีแชร์
Home / Page name
คดีแชร์
ความหมายของการเล่นแชร์
การเล่นแชร์ คือ สัญญาชนิดหนึ่ง มีคู่ความ 2 ฝ่าย คือ นายวงแชร์ ฝ่ายหนึ่ง กับลูกวงแชร์ อีกฝ่ายหนึ่ง ปกตินายวงแชร์จะเป็นบุคคลเดียว ส่วนลูกวงแชร์จะมีหลายคน
คำว่า “แชร์” หมายถึง การลงหุ้นเป็นจำนวนเงินและตามวาระที่กำหนดแล้วประมูล ว่าจะให้ดอกเบี้ยเท่าไร ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดจะได้รับเงินก่อน เวียนไปจนครบ จำนวนผู้เล่น, เรียกการลงหุ้นเช่นนั้นว่าเล่นแชร์ “การเล่นแชร์” ในทางกฎหมาย หมายความว่า การที่บุคคลตั้งแต่สามคน ขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์ โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใด รวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวด ๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลาง แต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการรวมทุน ในลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงด้วย๑ ดังนั้น จึงอาจมี การแข่งขันกันประมูลเงินทุนกองกลางโดยการให้ดอกเบี้ย หากสมาชิกในวงแชร์คนใดเสนอให้ดอกเบี้ยสูงสุดในการประมูล ทุนกองกลางในงวดนั้นก็มีสิทธิได้รับเงินทุนกองกลางในงวดนั้นไป
ประเภทของการเล่นแชร์
ในการเล่นจะกำหนดจำนวนเงินแต่ละงวดและวิธีการประมูลซึ่งวิธีการประมูลมี 2 ประเภท คือ
ประมูลหักดอกเบี้ย เช่น จำนวนเงินแชร์ 10,000 บาท หากลูกวงแชร์ผู้ประมูลให้ผลประโยชน์ 1,500 บาท เป็นดอกเบี้ยซึ่งสูงกว่าลูกวงแชร์อื่น ก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ก็ต้องรับเงินงวดนั้น 8,500 บาท
แต่ถ้าเป็นแชร์ชนิดดอกตาม ลูกวงแชร์ที่ประมูลไม่ได้ก็ต้องชำระเต็ม 10,000 บาท แต่จะได้รับคืนจากผู้ประมูลได้ในภายหลัง
สิทธิพิเศษของเท้าหรือนายวงแชร์
ปกตินายวงแชร์ได้สิทธิพิเศษ คือได้รับเงินเต็มในเดือนแรก ตามตัวอย่างข้างต้นหากมีผู้เล่น 20 คน ผู้เข้าเล่นหรือลูกวงแชร์จะต้องชำระเงินคนละ 10,000 บาท ให้แก่นายวงแชร์ โดยนายวงแชร์ไม่ต้องเสียดอกแต่มีหน้าที่ที่จะใช้คืนลูกวงแชร์ทุกงวดๆ ละ 10,000 บาท และมีหน้าที่จัดการประมูลและรวบรวมเงินจากลูกวงแชร์ที่ประมูลไม่ได้ มอบให้แก่ผู้ที่ประมูลได้
มีข้อพิจารณาว่าหากผิดสัญญาเล่นแชร์ดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องฟ้องคดีภายในกี่ปี เนื่องจากสัญญาเล่นแชร์ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายไว้โดยเฉพาะ จึงต้องปรับข้อเท็จจริงในข้อสัญญาเข้ากับบทบัญญัติเรื่องอายุความ
กรณีผิดสัญญาเล่นแชร์เกิดขึ้นได้ 4 กรณี คือ
1. นายวงแชร์ผิดสัญญาไม่รวบรวมเงินมอบให้แก่ลูกวงแชร์ซึ่งประมูลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2530 โจทก์ตกลงเล่นแชร์กับจำเลย จำเลยเป็นนายวงแชร์ เมื่อลูกวงแชร์คนใดเปียแชร์ได้จะได้รับเช็คจากจำเลยซึ่งเก็บมาจากลูกวงแชร์ทุกคนโดยจำเลยลงชื่อสลักหลังและรับผิดชอบกรณีเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์เปียแชร์ได้และนำเช็คที่ได้รับจากจำเลยบางฉบับไปชำระหนี้แก่ ก. แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ต่อมา ก. ถึงแก่กรรม ว. ภริยา ก. ฟ้องจำเลยในฐานะผู้สลักหลังให้ชำระเงินตามเช็ค ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์ชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่ ว. ไป เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าแชร์ตามเช็คดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ตามข้อตกลงในการเล่นแชร์ และอายุความของสิทธิเรียกร้องในกรณีผิดสัญญาเล่นแชร์นี้มีกำหนดสิบปี การที่โจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันให้โจทก์นำเช็คที่ได้รับจากการเล่นแชร์ไปเรียกเก็บเงินดังกล่าวนั้นไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ และโจทก์มิใช่คู่ความในคดีที่ ว.ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีที่ ว. ฟ้องจำเลยดังกล่าว
2. ลูกวงแชร์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินค่างวดให้แก่นายวงแชร์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2480 สัญญากู้เงินในเรื่องเล่นแชร์วิธีกำหนดเวลาที่ลูกวงจะต้องนำเงินส่งให้นายวงเป็นงวดๆ นั้น มีกำหนดอายุความฟ้องร้องเพียง 5 ปี นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2516 และ 284/2516
3. ลูกวงแชร์ผิดสัญญากันเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2537 มูลหนี้ตามฟ้องโจทก์ไม่ใช่มูลหนี้การกู้ยืมเงินตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี รวมอยู่ในมูลหนี้ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว มูลหนี้เดิมเกิดจากจำเลยที่ 1 ร่วมเล่นแชร์กับโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าแชร์ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คถือว่าโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ค่าแชร์ การชำระหนี้ด้วยเช็คเช่นนี้ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงอาศัยมูลหนี้เดิมตามสัญญาการเล่นแชร์หาได้ฟ้องให้รับผิดตามเช็คไม่ อายุความเกี่ยวกับการฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่) เมื่อนับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์ครั้งสุดท้าย และเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
4. กรณีลูกวงแชร์ผิดสัญญา นายวงแชร์ชำระหนี้แทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2537 โจทก์เล่นแชร์กับจำเลยโดยโจทก์เป็นนายวง จำเลยประมูลแชร์ได้และออกเช็คให้แก่ลูกวงคนอื่นๆ ไว้ เมื่อเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ในฐานะนายวงได้ชำระเงินตามเช็คไปแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยอันเป็นการเรียกเงินที่ออกทดรองไปก่อนคืน สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 3 กรณีแรกมีข้อสัญญาที่เหมือนกันอยู่ 2 กรณี คือ กรณีที่นายวงแชร์ผิดสัญญากับลูกวงแชร์ และลูกวงแชร์ผิดสัญญากันเอง กล่าวคือ ผู้ที่ผิดสัญญามีหน้าที่รับผิดชอบชำระหนี้ให้แก่อีกฝ่ายเพียงครั้งเดียว ส่วนกรณีลูกวงแชร์ผิดสัญญาต่อนายวงแชร์ กรณีนี้ลูกวงแชร์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชำระเป็นงวดๆ อายุความจึงต่างกัน ศิริชัย วัฒนโยธิน
ในกรณีที่นายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืน บทบัญญัติของกฎหมายถือว่านายวงแชร์มีความผิดตามกฎหมาย แต่ไม่เป็นเหตุให้สมาชิกวงแชร์หลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้อง ใช้เงินแก่สมาชิกที่ยังไม่ได้ประมูลแชร์จากทุนกองกลางนั้น ดังตัวอย่างคำพิพากษา ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๐/๒๕๔๓๒ พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖ ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ระบุไว้ ในมาตรา ๖ และมาตรา ๗ ให้สิทธิแก่สมาชิก วงแชร์ฝ่ายเดียวที่จะฟ้องคดี หรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มี การเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืน มาตรา ๖ ไว้เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันหาได้มี บทบัญญัติห้ามเล่นแชร์เกินกว่าจำนวนที่กำหนดไม่ ทั้งการเล่นแชร์เป็นสัญญาเกิดจาก การตกลงกันระหว่างผู้เล่นที่จะชำระเงินให้แก่ผู้ประมูลแชร์ได้ จึงมีผลผูกพันและบังคับ กันได้ตามกฎหมาย การที่ผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้ก่อนนำเช็คของจำเลยมาชำระ ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ได้ การชำระหนี้ค่าแชร์ดังกล่าวจึงหาเป็นการต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่
ความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ สำหรับความผิดเกี่ยวกับการเล่นแชร์นั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติ การเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการกระทำความผิดไว้ โดยขอนำ เสนอเฉพาะประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้
๒.๑ ความผิดฐานเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่ฝ่าฝืนมาตรา ๖ พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖ กำหนดว่า ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์ รวมกันมากกว่าสามวง (๒) มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่าสามสิบคน (๓) มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่ามากกว่า จำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (๔) นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์นั้นได้รับประโยชน์ ตอบแทนอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกองกลางในการเข้าร่วมเล่นแชร์ ในงวดหนึ่งงวดใดได้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าผู้ที่สัญญาว่าจะใช้เงินหรือ ทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้ มีการเล่นแชร์ด้วย แต่อย่างไรก็ดีบทบัญญัติในมาตรา ๖ นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึง การที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มี การเล่นแชร์๓ สำหรับโทษของผู้กระทำความผิดนั้นได้กำหนดไว้ในมาตรา ๑๗ ว่า “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
๒.๒ ความผิดฐานโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการ เล่นแชร์ตามมาตรา ๙ ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้กำหนดห้ามมิให้ ผู้ใดโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ หากผู้ใดฝ่าฝืนต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท๔ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้แจ้งให้ประชาชนทราบว่า ในปัจจุบันมีบุคคลโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมเล่นแชร์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) และแอปพลิเคชันไลน์ (Line) ที่เรียกว่ากันว่า “แชร์ออนไลน์” ซึ่งแพร่หลายในกลุ่มบุคคลที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในวงกว้างอย่างรวดเร็ว การชี้ชวนให้ มีการเล่นแชร์ออนไลน์ดังกล่าวนี้ เข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๙ ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วม ในการเล่นแชร์ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท นอกจากนี้ ยังอาจเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย
ลักษณะของแชร์ออนไลน์ แบ่งเป็น ๒ รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่หนึ่ง คือ การเล่นแชร์ออนไลน์ที่มีพฤติการณ์แบบขอกู้หนี้ นอกระบบ กล่าวคือ เท้าแชร์หรือนายวงแชร์ จะเชิญชวนเพื่อน ๆ จากกลุ่มเฟซบุ๊กมาตั้ง เป็นกลุ่มไลน์ ที่มีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินนอกระบบแอบแฝงแชร์ออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะ เป็นการเล่นแชร์ในระยะสั้น ๆ ที่ประกาศเปิดวงแชร์ โดยเงินที่ประมูลเป็นเงินของเท้าแชร์ และให้สมาชิกในกลุ่มประมูลหรือเสนอเงินดอกเบี้ยที่สูงพร้อมกำหนดการส่งเงิน ดอกเบี้ยและเงินต้นที่แน่นอน ซึ่งอาจจะเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐๕ ได้
รูปแบบที่สอง คือ การเล่นแชร์ออนไลน์แบบ แชร์ทั่วไปแต่อาศัยสื่อเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ ที่มีพฤติกรรม เข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และประมวลกฎหมายอาญาฐานฉ้อโกง โดยมีการตั้งกลุ่มเชิญชวน เพื่อนจากเฟซบุ๊กมาตั้งกลุ่มในไลน์ ซึ่งมีสมาชิกจำนวนมากจึงตั้ง เป็นหลายวง มีกำหนดส่งเงินเป็นงวด แต่ละงวดเท่ากันตามจำนวน สมาชิกที่เล่น และมีการเก็บค่าดูแลวงแชร์ เมื่อสมาชิกส่งเงินงวด ให้ตามกำหนดพร้อมทั้งประมูลหรือเปียแชร์ โดยเสนอดอกเบี้ยที่สูงที่จะจ่ายใน งวดต่อไป ผู้ให้ดอกเบี้ยสูงสุดจะได้รับเงินกองกลางไป แต่เท้าแชร์ไม่ส่งเงินให้แก่สมาชิก ที่ประมูลได้ตามจำนวนของวงเงินที่กำหนดไว้ที่จะจ่ายในงวดต่อ ๆ ไป หรือเท้าแชร์ หลอกลวงโดยไม่มีการประมูลจริง เท้าแชร์แค่อ้างว่ามีการประมูลผลตอบแทนขึ้นเพื่อ เท้าแชร์จะได้เงินจากสมาชิก ส่งผลให้สมาชิกที่ร่วมเล่นแชร์ดังกล่าวนั้นเกิดความเสียหาย ต่อทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ นั้น เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ดังตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๙๒๖/๒๕๔๔๗ เงินค่าแชร์แต่ละงวดที่ผู้เสียหาย ทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมส่งให้จำเลย เมื่อผู้ใดประมูลแชร์ได้ก็จะตกได้แก่ผู้นั้น กรรมสิทธิ์ ในเงินที่ส่งไปแล้วมิได้เป็นของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมต่อไปอีกและหาก ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมไม่สามารถประมูลแชร์ได้เพราะแชร์ล้มเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยในฐานะที่เป็นเจ้ามือแชร์ก็ต้องรับผิดแทน ซึ่งเป็นความผิดในทางแพ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖ บัญญัติไว้ แต่เพียงว่า ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวน วงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้นมิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่า สามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิด เมื่อจำเลยจัดให้มี การเล่นแชร์โดยมีจำเลยเป็นนายวงแชร์ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่าสามวงจึงเข้า องค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๖ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ มาตรา ๖ มาตรา ๑๗ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๒ แต่ความผิด ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็น ผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้เฉพาะ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๒ เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิ เข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ จำเลยเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์รวม ๗ วง จำเลยรวบรวมเงิน จากผู้เสียหายและโจทก์ร่วมซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไปแล้วหลายงวด จำเลยจัดให้มีการ ประมูลแชร์ไปแล้วหลายงวด โดยสถานที่จัดประมูลแชร์คือที่ร้านของจำเลย การประมูลแชร์ ตามวาระมีไปแล้วหลายครั้ง ผู้ที่ประมูลแชร์ได้ต่างก็ได้รับเงินไปแล้ว และตามคำฟ้อง โจทก์ ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมยังไม่เคยประมูลแชร์ได้จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้อง เงินกองกลางที่จำเลยรวบรวมไป เงินค่าแชร์แต่ละงวดที่ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมส่งให้จำเลย ไปแล้ว เมื่อผู้ใดประมูลแชร์ได้ก็ย่อมจะตกได้แก่ผู้นั้นไป กรรมสิทธิ์ในเงินที่ส่งไปแล้ว มิได้เป็นของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมต่อไปอีก และหากผู้เสียหายและโจทก์ร่วม ไม่สามารถประมูลแชร์ได้เพราะแชร์ล้มเลิกไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยในฐานะที่เป็น เจ้ามือแชร์ก็จะต้องรับผิดแทน ความรับผิดในกรณีเช่นนี้เป็นความผิดในทางแพ่ง ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกเงินของผู้เสียหายและโจทก์ร่วม แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์ แต่ละวงจะแตกต่างกันอยู่ และไม่มีวันใดมีการเริ่มเล่นแชร์ขึ้นใหม่พร้อมกันถึง ๓ วง ก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖ บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกัน มากกว่าสามวงเท่านั้น มิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวง ดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิด เมื่อแชร์ที่จำเลยจัดให้มี การเล่นทั้งหมดซึ่งมีจำเลยเป็นนายวงแชร์อยู่มีจำนวนรวมกันอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน มากกว่า ๓ วง ตามที่จำกัดจำนวนไว้ในกฎหมาย ย่อมต้องถือว่าการกระทำของจำเลย เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๖
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ในกรณีที่นายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์มากกว่า ๓ วง หรือมีสมาชิกรวมกันทุกวงมากกว่า ๓๐ คน นอกจากจะเป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับแล้ว ในกรณีที่มีการแอบอ้างชื่อสมาชิกในการ ประมูลเงินทุนกองกลางยังเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ อีกด้วย ดังตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๑๓๙/๒๕๔๗๙ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลย ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ จำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกัน ทั้ง ๕ วง มี ๓๕ คน ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ แล้ว เพราะองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๖ (๑) (๒) ห้ามมิให้บุคคล ธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่า ๓ วง หรือมีจำนวนสมาชิกรวมกันทุกวงมากกว่า ๓๐ คน ส่วนบัญชีรายชื่อผู้เสียหายจำนวน ๒๘ คน นั้น เป็นรายชื่อของสมาชิกวงแชร์ที่ถูกจำเลยฉ้อโกงในการเล่นแชร์ทั้ง ๕ วง มิใช่จำนวนสมาชิกวงแชร์ทั้ง ๕ วงรวมกัน ฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิด ตามมาตรา ๖ (๑) (๒) แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยว่าได้กระทำการเป็นนายวงแชร์ จัดให้มีการเล่นแชร์ถึง ๕ วง นับแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม๒๕๔๒ โดยมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า ๓๐ คน อันเป็นการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖ (๑) (๒) แล้ว และ ต่อมาจำเลยยังได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง๑๐ ผู้เสียหายทั้ง ๒๘ คน ด้วยการหลอกลวง ว่ามีสมาชิกวงแชร์รายอื่นประมูลเงินทุนกองกลางโดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่า ผู้เสียหายแต่ละคนที่เข้าร่วมประมูล จึงต้องรวบรวมเงินทุนกองกลางไปให้แก่สมาชิก ผู้นั้น และบางงวดจำเลยก็แอบอ้างชื่อสมาชิกวงแชร์บางรายเข้าประมูลเงินทุนกองกลาง โดยเสนอดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายที่เข้าร่วมประมูล จนกระทั่งจำเลยได้ เงินทุนกองกลางไปเสียเอง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้แยกต่างหากจากการเป็น นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ เป็นการหลอกลวงแอบอ้างสิทธิของสมาชิกวงแชร์คนอื่น เป็นการกระทำต่างฐานความผิด ด้วยเจตนาที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม ต่างกันมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องครบ องค์ประกอบความผิดแต่ละฐานแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน
ความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์แต่ละคนจะต้องชำระเงินให้นายวงแชร์ เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้ เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๙๑๑๑ กล่าวคือ ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้แล้วจะต้องคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ประมูล โดยนายวงแชร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินดังกล่าวจนกว่า ลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลจะได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่มีสิทธิได้แม้จะเป็นการ สั่งจ่ายเช็คในการส่งใช้เงินทุนกองกลางก็สามารถบังคับได้หาเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๒๖๕/๒๕๔๙ ระหว่างเล่นแชร์กัน ลูกวงแชร์ แต่ละคนต้องชำระเงินให้นายวงแชร์เพื่อรวบรวมไปให้ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้ เมื่อมีการเลิกสัญญาเล่นแชร์กันแล้ว ทั้งนายวงแชร์และลูกวงแชร์ซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญา แต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๙๑ วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ลูกวงแชร์ผู้ประมูลแชร์ได้แล้วจะ ต้องคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ประมูล โดยนายวงแชร์ยังมีหน้าที่ รับผิดชอบในการคืนเงินดังกล่าวจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลจะได้รับเงินคืนครบ ตามจำนวนที่มีสิทธิได้ จำเลยในฐานะนายวงแชร์จึงยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินที่ลูกแชร์ ผู้ประมูลได้แล้วคืนเงินที่ได้รับไปให้แก่ลูกวงแชร์คนอื่น ๆ ที่ยัง ไม่ได้ประมูลจนกว่าลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลจะได้รับเงินคืนครบ ตามจำนวนที่มีสิทธิได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับเงินคืนไม่ครบจำเลย จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเจ็ด
บทสรุป กล่าวโดยสรุปแล้ว การเล่นแชร์นั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย ประชาชนโดยทั่วไปรวมทั้งข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็สามารถเล่นได้ แต่ใน การเล่นแชร์นั้นก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งกำหนด หลักเกณฑ์สำหรับนายวงแชร์ให้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิด ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ในการเล่นแชร์นั้นแม้จะไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ แต่หากสมาชิกวงแชร์คนใดได้ กระทำผิดข้อตกลงหรือผิดสัญญาในการเล่นแชร์นั้นก็อาจจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเป็นการผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ได้ ทั้งนี้ ตามที่ได้ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนว่ามีการโกงแชร์กันเกิดขึ้น หรือ มีการฟ้องร้องดำเนินคดีในความผิดฐานฉ้อโกงกัน ก็มีตัวอย่างให้เห็นเป็นจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การเล่นแชร์ในแต่ละวงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมาชิกในวงแชร์สามารถได้รับเงินทุนกองกลางได้ครบทุกคน ผู้ที่มาร่วมเล่นแชร์ด้วย กันนั้นก็ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต ทั้งต่อตนเองและต่อสมาชิกในวงแชร์นั้นด้วย ทั้งนี้ เพราะการเล่นแชร์นั้นจำเป็นต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจกันทุกฝ่าย หากทุกคนมี ความซื่อสัตย์สุจริตต่อกันการเล่นแชร์ในแต่ละวงก็จะเป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อย ทุกคนสามารถเล่นแชร์กันได้อย่างสบายใจ เพราะจะไม่เกิดกรณีการเบี้ยวแชร์หรือ โกงแชร์กันอีกต่อไป ซึ่งก็จะสมประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่จะได้รับเงินทุนกองกลาง เพื่อเป็น ทุนใช้จ่ายในกรณีจำเป็นเร่งด่วนต้องใช้เงินในการดำเนินชีวิตต่อไป
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
บทความคดีแรงงาน
ในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก คือเรื่องของพนักงาน หรือแรงงาน ซึ่งบริษัทมีหน้าที่ต้องดูแลพนักงานเหล่านี้ตามสิทธิที่ควรจะได้รับตลอดการทำงาน
บทความคดีแชร์
ตามประมาลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ3เอกเทศสัญญา ลักษณะ21หมวด4เช็คมาตร 987ได้ให้คำจำกัดความของเช็คไว้ว่า
เช็คคือ ตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งให้ธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง