พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

Home / Page name

พรบ คอม

Header paragraph

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คืออะไร
      พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีเพื่อกำหนดความผิดในการกระทำที่มี“ระบบคอมพิวเตอร์” เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นี้ เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์วางตัก คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ท โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา ธนาคาร ฯลฯ
       เราต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แน่นอนว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการกระทำความผิด หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ขโมยข้อมูล ป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ทุกวันนี้คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสมุดขนาดใหญ่
โดยสรุปแล้ว ทุกวันนี้เราเลี่ยงไม่พ้นระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบตัวเรา และนั่นทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเรามากเช่นกัน
ความผิดที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.

  • การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
  • การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ทีผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ
  • การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
  • การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  • การทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม
  • ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
  • การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทําความผิดอื่น
  • การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ทีเป็นภาพของบุคคล
  • การจําหน่ายชุดคําสั่งทีจัดทําขึ้นเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิด

ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.
1.  ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์
2. ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
 “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service
Provider)
- ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆทีเรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ
web service เป็นต้น
 
ข้อมูลของผู้ใช้บริการ
ผู้ให้บริการทังทีเสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม ต้องเก็บข้อมูลเท่าทีจําเป็น เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อนามสกุล เลขประจําตัวประชาชนUSERNAME
หรือ PIN CODE ไว้ ไม่น้อยกว่า 90 วันนับตังแต่การใช้บริการสิ้นสุดลงหากผู้ให้บริการไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้ถือว่าทําผิดและอาจถูกปรับสูงถึง 50,000 บาทรวมถึงเว็บบอร์ดทังหลาย ซึงมีผู้มาโพสเป็นจํานวนร้อย -พัน รายต่อวัน เว็บมาสเตอร์ และผู้ดูแลโฮสติงหรือผู้ทําอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อาจเสียงต่อการระมัดระวังข้อความเหล่านั้น
พระราชบัญญัตินี้  จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปเพราะหากท่านทําให้เกิดการกระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์(ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตังใจ)ก็อาจจะมีผลกับท่าน และทีสําคัญ คือผู้ให้บริการซึงรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆทีเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน นิสิต นักศึกษาในองค์กรผู้รับผิดชอบมีหน้าทีดูแลอย่างรอบคอบในฐานะ "ผู้ให้บริการ"
 
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ในฐานะบุคคลธรรมดาไม่ควรกระทําในสิงต่อไปนี้เพราะอาจจะทําให้ “เกิดการกระทำความผิด"
1.    ไม่ควรบอก passwordแก่ผู้อื่น
2.     อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนทีเพื่อเข้าเน็ต
3.    อย่าติดตังระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือทีทํางานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
4.    อย่าเข้าสู่ระบบด้วยuser ID และ password ทีไม่ใช่ของท่านเอง
5.     อย่านํา user ID และ passwordของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
6.    อย่าส่งต่อซึงภาพหรือข้อความหรือภาพเคลื่อนไหวทีผิดกฎหมาย
7.     อย่า กด "remember me"หรือ "remember password"ทีเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะและอย่า log-in เพื่อทําธุรกรรมทางการเงินทีเครื่องสาธารณะ
8.    อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN)ทีเปิดให้ใช้ฟรีโดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
 
ความผิดอาญาตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไปดู จำคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเค้า แล้วบอกให้คนอื่นรู้  จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดีๆ แล้วแอบไปล้วงข้อมูลของเขาออกมา จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั ว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขา เราดันมือบอนแก้ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของเค้าทำงานอยู่ดีๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือtrojan  หรือ worm หรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง จำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเลย เราก็ทำตัวเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้ เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ปรับไม่เกิน100,000บาท 
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้ว ทำให้เราๆ ท่านๆ บุคคลทั่วไปเกิดความเสียหาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000บาท ก่อความเสียหายต่อความั่นคงของประเทศ เศษรฐกิจ และสังคม จำคุกตั้งแต่ 3 - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000บาท   ถึง300,000บาท และถ้าทำให้ใครตายก็จะปรับโทษเป็น  จำคุกตั้งแต่ 10ปีถึง 20ปี
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใครๆทำเรื่องแย่ๆใน ข้อข้างบนได้ เจอคุกไม่เกินปีนึง หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
10.โป๊,โกหก, ปลอมแปลง,กระทบความมั่นคง,ก่อการร้าย, และส่งต่อข้อมูลทั้งๆที่รู้ว่าผิดตามที่กล่าวมาข้างต้น 
 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วสนับสนุน/ยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เท่ากับคนที่ทำเลย
12. ใครอยากเป็นศิลปินข้างถนน ที่ชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อแล้วเอาไปโชว์ผลงานบนระบบคอมพิวเตอร์ให้ใครต่อใครดู เตรียมใจไว้เลยมีสิทธิ์โดนจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย อย่าคิดว่ารอด โดนแหงๆ ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน
 
ลักษณะการกระทำความผิด
ความผิดด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบ และความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1. การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ (Unauthorized Access) คือ การเข้าไปใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่งผลต่อความครบถ้วนของข้อมูลการรักษาความลับ และประสิทธิภาพในการใช้งาน การกระทำความผิดในลักษณะนี้สามารถทำได้ 3 รูปแบบ คือ
         1.1   การเข้าถึงโดยการเจาะระบบ (Hacking or Cracking) หรือการบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ทั้งนี้เพื่อทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลนั้น ๆ ในการกระทำความผิดลักษณะนี้จะส่งผลให้เกิดการกระทำความผิดในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น การฉ้อโกงหรือการปลอมแปลงเอกสาร การขโมยข้อมูลหรือความลับของผู้อื่น การเข้าถึงโดยการเจาะระบบสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งการเจาะระบบจากคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ หรือเจาะระบบผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        1.2 การลักลอบดักข้อมูล (Illegal Interception) จะมีการใช้วิธีการทางเทคนิคหรือใช้อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อลักลอบดักฟัง ตรวจสอบ หรือติดตามข้อมูลที่สื่อสารระหว่างบุคคล นอกจากนี้ยังรวมถึงการกระทำอันเป็นการล่อลวงเพื่อจัดหาข้อมูลไปให้กับผู้อื่น โดยข้อมูลนั้นไม่ได้เป็นข้อมูลที่เปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้
         1.3  การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล (Data and System Interference) เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลของผู้อื่น การกระทำความผิดในลักษณะนี้มักใช้วิธีการนำไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ทั้งเพื่อการทำลาย แก้ไข และเปลี่ยนแปลงข้อมูล ขโมยรหัสผ่านของผู้ใช้คอมพิวเตอร์และทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทำงานช้าลงจนกระทั่งไม่สามารถใช้งานได้เลย
          1.4 การใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ เป็นการกระทำความผิดด้วยการผลิต แจกจ่าย จำหน่าย ครอบครองอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ หรือส่งเสริมการกระทำคามผิด เช่น อุปกรณ์สำหรับเจาะระบบ โปรแกรมสำหรับถอดรหัสคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสำหรับแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้อื่น แต่การกระทำความผิดในลักษณะนี้จะไม่รวมถึงอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ป้องกันระบบหรือทดสอบระบบ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึงการได้รับอนุญาตให้การะทำการดังกล่าวด้วย
2 การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิขอบ (Computer Misuse) เป็นการกระทำความผิดโดยใช้คอมพิวเตอร์ประกอบอาชญากรรมทุกรูปแบบ บางประเทศมีการกำหนดบทลงโทษด้วยการแก้ไขกฎหมายอาชญากรรมเดิม แต่ในประเทศไทยได้มีการกำหนดบทลงโทษหรือกฎหมายเฉพาะขึ้นซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั่นเอง
3  ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Related Crime) เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประกอบการกระทำความผิดในด้ายต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะการกระทำความผิดได้ 3 ลักษณะ คือ
        3.1  การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ การกระทำความผิดดังกล่าวมีผลตั้งแต่การป้อนข้อมูลที่เป็นเท็จ การปลอมแปลงข้อมูลทั้งหมดหรือบางส่วน รวมถึงการลบย้ายหรือย้ายข้อมูลออกจากสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลนั้น ทำให้ข้อมูลนั้นผิดไปจากต้นฉบับ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
        3.2  การฉ้อโกง โดยมีเจตนาเพื่อทุจริต แก้ไข เปลี่ยนแปลง ลบ นำเข้า หรือรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ผู้อื่น  โดยการกระทำนั้นทำให้เกิดประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน เช่น การสร้าง    โปรแกรมเพื่อปัดเศษเงินในบัญชีธนาคารของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
       3.3  การทำให้สื่อลามกอนาจารแพร่หลาย เป็นการกระทำผิดโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สื่อลามกอาจารปรากฏแก่ผู้อื่นด้วยการผลิต ส่งผ่าน จัดให้ได้มาหรือทำให้แพร่หลายในระบบคอมพิวเตอร์
 
แนวทางการป้องกัน
            เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหลากหลาย ส่งผลให้เกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาประโยชน์จากการใช้งานดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรรู้และปฏิบัติตาม การป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติได้ 4 แนวทาง ดังนี้

  1. การป้องกันข้อมูลส่วนตัว สามารถปฏิบัติได้โดยการตั้งค่ารหัสเข้าข้อมูลของไฟล์ข้อมูลที่ต้องการป้องกัน จัดเป็นเทคนิคที่ดีมากที่สุดวิธีหนึ่งในการควบคุมการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับให้เฉพาะบุคคลที่ต้องการ
  2. การป้องกันการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งโดยตรงและการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
                2.1      การใช้ Username หรือ User ID และรหัสผ่าน( Password ) ทั้งนี้ผู้ใช้ไม่ควรกำหนดรหัสผ่านที่เป็นวันเกิด หรือรหัสอื่นๆ ที่บุคคลไม่หวังดีสามารถคาดเดาได้
               2.2      การใช้เทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ในการเข้าสู่ระบบ เช่น การใช้สมาร์ทการ์ด(Smart card) ในการควบคุมการใช้งาน หรือกุญแจล็อกเพื่อป้องกันการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
               2.3       การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ(Biometric device) เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ลายเซ็น ม่านตา และรูปหน้า โดยอุปกรณจะนำเข้าข้อมูลที่ได้จากการแปลงลักษณะส่วนบุคคลในรูปดิจิทอลไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ ถ้าข้อมูลตรงกัน คอมพิวเตอร์จึงจะอนุญาตให้เข้าสู่ระบบ
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
          (1) โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
          (2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
          (3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
          (4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
          (5) เผยแพร่หรือส่งต่อ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (1) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้
        การกระทำในลักษณะดังต่อไปนี้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์มาตรา 14 (1)
         1. การหลอกลวงหรือชักชวนผู้อื่น/ประชาชน ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ Facebook, LINE ฯลฯ ให้ร่วมเล่นแชร์ หรือลงทุนในธุรกิจด้านต่างๆ โดยผู้ชักชวนมีเจตนาทุจริต หรือไม่มีเจตนาจะตั้งวงแชร์จริงๆ หรือไม่มีเจตนาจะให้ร่วมลงทุนด้านธุรกิจจริงๆ
         2. การหลอกลวงขายสินค้าให้แก่ ผู้อื่น/ประชาชน ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ Facebook, LINE ฯลฯ โดยมีเจตนาทุจริต หรือไม่มีเจตนาจะขายสินค้าจริงๆ หรือไม่มีสินค้าอยู่จริง หรือนำภาพสินค้าของผู้อื่นมาโพสต์ เพื่อจำหน่ายและหลอกเหยื่อ
         3. การหลอกลวงผู้อื่น/ประชาชน ว่าจะให้กู้ยืมเงิน อัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยหลอกให้ผู้อื่น/ประชาชน โอนเงินมัดจำไปก่อนที่จะตกลงให้กู้ยืมเงิน
         4. การหลอกลวงผู้อื่น/ประชาชน ว่าจะดำเนินการแก้ไขสถานะเกี่ยวกับเครดิตทางการเงิน จากเดิมมีสถานะค้างชำระให้กลับมาเป็นสถานะปกติ หรือ หลอกลวงว่าสามารถดำเนินการจัดให้สถาบันการเงินอนุมัติเงินกู้ยืมหรือสินเชื่อ ทั้งที่ผู้ขออนุมัติสินเชื่อมีเครดิตทางด้านการเงินไม่น่าเชื่อถือ โดยจะเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายไปก่อน
         5. การหลอกลวงผู้อื่น/ประชาชน ด้วยการตีสนิทหรือหลอกจีบ และหลอกว่าส่งสิ่งของมาให้ ต่อมาจะมีบุคคลแอบอ้างเป็นพนักงานในบริษัทขนส่งหลอกให้โอนเงินค่าใช้จ่าย เพื่อดำเนินการนำพัสดุออกจากด่านศุลกากร โดยมักอ้างว่ามีเงินสดอยู่ในพัสดุเป็นจำนวนมาก
 
เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนสำคัญในชีวิตคนเรามากขึ้นทุกวัน “อาชญากรรมคอมพิวเตอร์” จึงเพิ่มมากขึ้นด้วย พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จึงถูกตราขึ้นมาเพื่อรับมือกับปัญหานี้
อะไรคือความผิดตาม มาตรา 14(1)
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ระบุว่า “ผู้ใด …. (1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าท้ังหมดหรือบางส่วน  หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” การเขียนกฎหมายเช่นนี้เป็นการเปิดให้ต้องตีความอยู่มาก ทำให้ลักษณะของความผิดที่ฟ้องร้องเป็นคดีความกันด้วยมาตรา 14(1) มีความหลากหลาย ดังต่อไปนี้
  1. ความผิดต่อระบบ เช่น การปลอมแปลงไฟล์เพื่อแฝงตัวเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์
  2. การหลอกลวง ฉ้อโกง เช่น การปลอมหน้าเว็บไซต์ว่าเป็นเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน
  3. การหมิ่นประมาท

อะไรคือสิ่งที่ มาตรา 14(1) มุ่งคุ้มครอง
องค์ประกอบความผิดที่สำคัญใน มาตรา 14(1) คือ “ข้อมูลความพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” ซึ่งไม่เหมือนกับกฎหมายหมิ่นประมาทที่ไม่สนใจว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ แม้เป็นความจริงแต่หากทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ก็เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
อีกทั้งจุดประสงค์แรกเริ่มของการออกกฎหมายมาตรานี้ ก็เพื่อป้องกันและปราบปรามการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การปลอมหน้าเว็บไซต์ให้ผู้ใช้เข้าใจผิดเพื่อขโมยข้อมูลของผู้ใช้ หรือที่เรียกว่า Phishing เป้าหมายของมาตรา 14(1) เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายอาญาเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งความผิดฐานปลอมเอกสาร ในประมวลกฎหมายอาญา มีความหมายเฉพาะกระดาษหรือวัตถุอื่นใดที่มีรูปร่างและจับต้องได้เท่านั้น ยังไม่สามารถตีความให้ครอบคลุมการปลอมแปลงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้
แต่ตามสถิติกลับพบว่ามาตรา 14(1) ถูกนำมาใช้ดำเนินคดีกับเรื่องการหมิ่นประมาทเป็นส่วนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า การบังคับใช้มาตรา 14(1) กับการหมิ่นประมาทในโลกออนไลน์ เป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์แล้วหรือไม่
ผลกระทบของการใช้ มาตรา 14(1) ในฐานความผิดหมิ่นประมาท
1. เป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ซ้ำซ้อน เนื่องจากความผิดฐานหมิ่นประมาทมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้ว แม้จะเป็นการกระทำบนอินเทอร์เน็ต ก็มีความผิดหมิ่นฐานประมาทโดยการโฆษณาอยู่แล้ว ทำให้เกิดความสับสนในการตีความการบังคับใช้กฎหมาย และทำให้คดีความรกโรงรกศาล
2. อัตราโทษที่สูง ความผิดตามมาตรา 14(1) มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท ขณะที่ความผิดฐานหมิ่นประมาทมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณามีอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อนำพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) มาใช้ฟ้องร้องในประเด็นการหมิ่นประมาทจึงทำให้จำเลยต้องแบกรับอัตราโทษที่หนักขึ้น
3. ยอมความไม่ได้ คดีหมิ่นประมาทเป็นความผิดต่อส่วนตัว คดีจำนวนไม่น้อยเมื่อขึ้นสู่ชั้นศาลแล้วสามารถตกลงชดใช้ค่าเสียหาย หรือกล่าวขอโทษกัน ก็ทำให้คดีความจบกันไปได้ แต่ความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ไม่ใช่ความผิดที่ยอมความได้ แม้ผู้เสียหายกับจำเลยตกลงกันได้จนคดีหมิ่นประมาทจบลงแล้ว ความผิดตามมาตรา 14(1) ก็ยังต้องดำเนินคดีต่อไป ส่งผลกระทบต่อตัวจำเลยและทำให้คดีรกโรงรกศาลโดยไม่จำเป็น
4. ไม่มีหลักเรื่องความสุจริตหรือประโยชน์สาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329-330 การหมิ่นประมาทที่กระทำไปโดยการติชมด้วยความสุจริต หรือการวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เป็นเหตุยกเว้นความผิดและยกเว้นโทษได้ แต่ความผิดตามมาตรา 14(1) แม้เป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ตาม ก็ไม่สามารถอ้างเหตุเหล่านี้ขึ้นต่อสู้คดีได้
5. คุกคามเสรีภาพสื่อ เนื่องจากปัจจุบันมีสื่อออนไลน์เกิดขึ้นมาก แม้แต่สื่อกระแสหลักก็พัฒนาช่องทางออนไลน์ให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสาร เมื่อมีคดีความหมิ่นประมาทเกิดขึ้น มาตรา 14(1) ก็มักถูกฟ้องพ่วงเข้าไปด้วย ซึ่งเพิ่มภาระของสื่อหรือผู้ถูกกล่าวหาในการสู้คดี และปัจจุบันแนวโน้มการฟ้องร้องสื่อ ด้วยมาตรา 14(1) ก็มีสูงขึ้น กระทบต่อการบรรยากาศการใช้เสรีภาพในสังคม
จากการที่คอมพิวเตอร์และสือ social มีบทบาทกับชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และ มีอิทธิพลกับสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งการโพสข้อความที่เป็นเท็จ หรือเป็นการต่อว่าพาดพิงถึงบุคคลอื่นๆ รวมทั้ง แชร์ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อผ่านสื่อ social ต่างๆ อาจทำให้เข้าข่ายความผิด พรบ คอมพิวเตอร์

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Project Image
บทความคดีฉ้อโกง

หลักสำคัญของการฉ้อโกง คือ ผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาทุจริต โดยการหลอกลวง ด้วยการแสดงข้อความเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ควรจะแจ้ง มาตั้งแต่แรก

 


Project Image
บทความคดีลักทรัพย์

การลักทรัพย์ คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยต้องการจะครอบครองทรัพย์นั้นไว้ เพื่อตนเองเอาไปขายหรือให้กับบุคคลอื่นก็ตามแต่